จังหวัดยะลา

ยะลา มีพื้นที่รวม 4,512.078 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ราบมีน้อย ประชากรของจังหวัดยะลาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพที่สำคัญได้แก่การทำสวนยาง การเพาะปลูกพืชไร่ ทรัพยากรที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ดีบุก และป่าไม้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่าง 21-27 องศาเซลเซียส เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถไฟ 1,055 กิโลเมตร ทางรถยนต์ 1,084 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4,521 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย

ยะลา แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองขึ้นอยู่กับราชอาณาจักรไทยครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีใน ปี พ.ศ. 2310 หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว บรรดาหัวเมืองต่างๆ ในบริเวณแถบนี้ต่างก็ประกาศตัวเป็นอิสระ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับสั่งให้กรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท เสด็จยกทัพหลวงไปปราบ และตีเมืองปัตตานี ในปี พ.ศ. 2332 เมืองยะลาก็ยังเป็นท้องที่ในเมืองปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2351 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกหัวเมืองปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะ เมืองรามัน และเมืองยะลา สำหรับเมืองยะลานั้น มีต่วนยาลอ เป็นพระยาลอ และได้มีการเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองกันมาหลายครั้ง จังหวัดยะลาจึงเป็นจังหวัดๆ หนึ่งของประเทศไทย ก่อนที่จะมีการประกาศยุบเลิกมณฑล ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบแห่งราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2476 คำว่า ยะลา มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า ยะลอ ซึ่งแปลว่า “แห” เพราะสถานที่ตั้งเมืองเดิมคือ บ้านยะลอ มีภูเขารูปร่างคล้ายแหตั้งอยู่บริเวณนั้นเป็นที่ลุ่ม ได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองใหม่หลายครั้ง ในที่สุดมาอยู่ที่เมืองนิบง (นิบง แปลว่า ไม้หลาวชะโอน) จนถึงปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยะลา อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง อำเภอกรงปินัง

ชื่อจังหวัดยะลาภาษาอังกฤษ Yala

คำขวัญประจำจังหวัด
ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

ตราประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดยะลา

 

รูปเหมืองแร่ดีบุก หมายถึงท้องที่จังหวัดอุดมไปด้วยแร่ดีบุกและอาชีพหลักของชาวเมืองก็คือ ทำเหมืองแร่ดีบุก คำว่า ยะลา เป็นภาษาของชาวมลายูแถบ ไทรบุรีและปีนัง และว่า แห เพราะในท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเก่ามีภูเขาอยู่ 1 ลูก รูปร่างสัณฐานคล้ายแห

ต้นไม้ประจำจังหวัด
ศรียะลา

ดอกไม้ประจำจังหวัด
พิกุล

สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยว
ถ้ำคูหาพิมุข (วัดหน้าถ้ำ) ถ้ำศิลป์ บ่อน้ำร้อน วนอุทยานธารโต น้ำตกธารโต น้ำตกกือลอง เขื่อนบางลาง น้ำตกอินทสรณ์ ถ้ำกระแซง แก่งนางรำ วนอุทยานรามัน หมู่บ้านซาไก น้ำตกละอองลรุ้ง สวนขวัญเมือง เมืองเบตง

รหัสไปรษณีย์ยะลา

บทความที่น่าสนใจ

ประเทศไทยมีกี่จังหวัด
ชื่อจังหวัดภาษาอังกฤษ
ตัวย่อชื่อจังหวัด
รหัสจังหวัด
ภาคกลางมีกี่จังหวัด
ภาคเหนือมีกี่จังหวัด
ภาคอีสานมีกี่จังหวัด
ภาคใต้มีกี่จังหวัด
ภาคตะวันออกมีกี่จังหวัด
ภาคตะวันตกมีกี่จังหวัด